ผู้สูงอายุ คนแก่ คนสูงอายุ คนชรา ผู้ป่วยติดเตียง
  • ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
    • พาหาหมอ / รับยา
    • พาผู้สูงอายุเที่ยว
    • กายภาพบำบัดที่บ้าน
    • ประกันผู้สูงอายุ
    • วางแผนทางการเงินผู้สูงอายุ
  • ดูแลผู้ป่วย
  • ผู้สูงอายุ
  • บทความ
  • “ ภาวะตะคริว ” ตอนกลางคืน ปัญหาสุดกวนใจของผู้สูงวัยในขณะนอนหลับ
บทความ

“ ภาวะตะคริว ” ตอนกลางคืน ปัญหาสุดกวนใจของผู้สูงวัยในขณะนอนหลับ

By Birth Intern   24 ม.ค. 2568

“ ภาวะตะคริว ” ตอนกลางคืน ปัญหาสุดกวนใจของผู้สูงวัยในขณะนอนหลับ

        “ตะคริว” เป็นอาการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการปวดทรมาน มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง มักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันในส่วนใดก็ได้ของร่างกาย พบบ่อยที่กล้ามเนื้อน่อง และกล้ามเนื้อต้นขา ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการตะคริวที่ขาในขณะนอนหลับจนต้องสะดุ้งตื่น หรือที่เรียกว่า ตะคริวกลางคืน พบบ่อยในวัยกลางคน ผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์

ปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดตะคริว 

1. พฤติกรรมการใช้ชีวิต : การนั่งหรืออยู่ในท่าเดิมนาน ๆ โดยไม่ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อล้าและเกิดการหดรั้ง

2. อายุที่มากขึ้น : มวลกล้ามเนื้อลดลงตามอายุ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและล้าได้ง่ายขึ้น

3. ภาวะเกลือแร่ไม่สมดุล : การขาดโซเดียมและโพแทสเซียมจากการท้องเสีย อาเจียน หรือเสียเหงื่อมาก ทำให้เกิดตะคริวได้ โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดกับกล้ามเนื้อหลายส่วนและเป็นเวลานาน

4. การดื่มน้ำน้อย : ส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ

5. การใช้ยาบางชนิด : ยาขับปัสสาวะ ยาลดไขมัน ยาลดความดันโลหิต และยาขยายหลอดลม อาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดตะคริวได้

6.โรคประจำตัวบางชนิด : โรคเบาหวาน โรคไตวาย โรคต่อมไทรอยด์ น้ำตาลในเลือดต่ำ โรคพาร์กินสัน และภาวะหลอดเลือดแดงแข็งหรือหลอดเลือดตีบตัน ล้วนส่งผลต่อการเกิดตะคริว

วิธีป้องกันตะคริวขณะนอนหลับ

1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ : โดยเฉพาะก่อนและหลังออกกำลังกายหรือหลังใช้งานกล้ามเนื้อขาและน่อง เพื่อป้องกันการเกร็ง

2. รับประทานอาหารที่เหมาะสม : เน้นอาหารที่มีโพแทสเซียม เช่น กล้วย ส้ม, แคลเซียม เช่น นม และปลาเล็กปลาน้อย, วิตามินอี เช่น ถั่ว น้ำมันพืช หรือดื่มนมก่อนนอน

3. ดื่มน้ำอย่างเพียงพอในระหว่างวันเพื่อช่วยให้ร่างกายทำงานได้ดี

4. รักษาความอบอุ่น : หลีกเลี่ยงอากาศเย็น โดยสวมถุงเท้าหรือห่มผ้าขณะนอนหลับ เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกร็ง

ที่มาของข้อมูล

https://allwellhealthcare.com/muscle-cramp-in-elderly/

บทความอื่นๆ

10 วิธีดูเเลผู้สูงอายุให้สุขภาพดีทั้งกายเเละใจ

บทความ

15 พ.ค. 2568

5 ผลไม้ช่วยบำรุงหัวใจ

บทความ

25 เม.ย. 2568

สิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ

บทความ

21 เม.ย. 2568

บทความยอดนิยม

1

โทรศัพท์ เพื่อนคู่ใจหรือภัยร้ายผู้สูงอายุ ?

บทความ

03 ก.ค. 2567

2

คอนโดแบบไหนโดนใจป๊ะป๊า (ผู้สูงอายุ)

บทความ

04 ธ.ค. 2566

3

[How To] วิธีเลือกศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสม คู่มือฉบับสมบูรณ์

บทความ

03 พ.ค. 2567

4

เที่ยวให้สนุก สุขใจวัยเกษียณ กับสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมสำหรับผู้สูงอายุ

บทความ

20 มิ.ย. 2567

5

อาการหนาวสั่นเฉียบพลันในผู้สูงอายุ: สัญญาณที่ควรทราบและแนวทางการรักษา

บทความ

02 ก.ค. 2567

ข้อแนะนำการอ่านหนังสือสำหรับผู้สูงอายุ
การอ่านหนังสือเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุอย่างมาก ช่วยให้กระตุ้นสมอง เพิ่มความรู้ พัฒนาทักษะการสื่อสาร และผ่อนคลาย ดังนี้

การเลือกประเภทหนังสือ:
  • เลือกหนังสือที่ผู้สูงอายุสนใจ: เลือกหนังสือที่สอดคล้องกับความสนใจและประสบการณ์ของผู้สูงอายุ เช่น นิยาย หนังสือเกี่ยวกับสุขภาพ การท่องเที่ยว ฯลฯ
  • เลือกหนังสือที่เหมาะกับระดับการอ่าน: เลือกหนังสือที่มีตัวอักษรที่ชัดเจน ประโยคสั้นๆ และภาษาที่เข้าใจง่าย
  • เลือกหนังสือที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์: เลือกหนังสือที่มีเนื้อหาที่ช่วยให้ผู้สูงอายุเรียนรู้ พัฒนาทักษะ หรือผ่อนคลาย

การอ่านหนังสือ หรือ บทความมีประโยชน์มากมายต่อคนทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ดังนี้

1. กระตุ้นสมอง: การอ่านช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยให้สมองได้คิดและได้ทำงานตลอดเวลา การอ่านหนังสือสม่ำเสมอจะช่วยชะลอและป้องกันการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้
2. เพิ่มความรู้: การอ่านหนังสือช่วยให้เราได้รับความรู้จากเนื้อหาในหนังสือ แม้ว่าจะยังไม่ได้ใช้ในตอนนี้ แต่ก็ยังคงเป็นประโยชน์ในอนาคต
3. พัฒนาทักษะการสื่อสาร: การอ่านช่วยให้เราได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ และรูปแบบประโยคที่หลากหลาย ทำให้เราสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ฝึกสมาธิ: การอ่านหนังสือช่วยให้เราจดจ่อกับเรื่องราวในหนังสือ ฝึกสมาธิและความตั้งใจ
5. ผ่อนคลาย: การอ่านหนังสือช่วยให้เราผ่อนคลาย ลดความเครียด และรู้สึกสงบ
6. เพิ่มความรู้รอบตัว: การอ่านหนังสือช่วยให้เรารู้เรื่องราวต่างๆ ทั่วไป สามารถพูดคุยกับผู้อื่นได้อย่างมั่นใจ
7. พัฒนาการคิดวิเคราะห์: การอ่านหนังสือช่วยให้เราฝึกคิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากเรื่องราวในหนังสือ และนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตจริง
8. ฝึกจินตนาการ: การอ่านหนังสือช่วยให้เราฝึกจินตนาการ คิดภาพตามเรื่องราวในหนังสือ
9. ความบันเทิง: การอ่านหนังสือช่วยให้เราเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย และสนุกกับการอ่าน
10. พัฒนาการอ่าน: การอ่านหนังสือช่วยให้ทักษะการอ่านของเราดีขึ้น เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

การอ่านหนังสือเป็นกิจกรรมที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุทุกคน เพียงเลือกหนังสือที่เหมาะกับความสนใจและระดับการอ่าน ก็สามารถได้รับประโยชน์จากการอ่านอย่างเต็มที่

Popular Tags

blog/view.html บางขุนเทียน ห้วยขวาง ภาษีเจริญ พญาไท ธนบุรี บางกอกใหญ่ บางพลัด บางกอกน้อย คลองสาน

แนะนำ

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ใกล้ฉัน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ กรุงเทพ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ นนทบุรี
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ปทุมธานี ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ สมุทรปราการ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ นครปฐม
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ สมุทรสาคร ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ภูเก็ต ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เชียงใหม่
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ โคราช ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ขอนแก่น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เชียงราย
“ ภาวะตะคริว ” ตอนกลางคืน ปัญหาสุดกวนใจของผู้สูงวัยในขณะนอนหลับ

Copyright © ผู้สูงอายุ คนแก่ คนสูงอายุ คนชรา ผู้ป่วยติดเตียง

  • เกี่ยวกับเรา
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นโยบายคุกกี้
  • ร้องเรียนเนื้อหาไม่เหมาะสม

แนะนำแจ้งเตือน แจ้งปัญหาการใช้งาน

ร่วมงานกับเรา

Messenger Line โทรศัพท์ 081-901-4440