ผู้สูงอายุ คนแก่ คนสูงอายุ คนชรา ผู้ป่วยติดเตียง
  • ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
    • พาหาหมอ / รับยา
    • พาผู้สูงอายุเที่ยว
    • กายภาพบำบัดที่บ้าน
    • ประกันผู้สูงอายุ
    • วางแผนทางการเงินผู้สูงอายุ
  • ดูแลผู้ป่วย
  • ผู้สูงอายุ
  • บทความ
  • “วัคซีนไข้เลือดออก” 2 ชนิด คนเคย-ไม่เคยป่วย ฉีดต่างกัน
PR News

“วัคซีนไข้เลือดออก” 2 ชนิด คนเคย-ไม่เคยป่วย ฉีดต่างกัน

By Benz   15 มิ.ย. 2567

“วัคซีนไข้เลือดออก” 2 ชนิด คนเคย-ไม่เคยป่วย ฉีดต่างกัน

“วัคซีนไข้เลือดออก” 2 ชนิด คนเคย-ไม่เคยป่วย ฉีดต่างกัน

15 มิถุนายนของทุกปี เป็น"วันไข้เลือดออกอาเซียน" ( ASEAN Dengue Day)  ภายใต้แนวคิด “Dengue Hero towards Zero Death”  ซึ่งนโยบายขององค์การอนามัยโลกที่อัตราการเสียชีวิตจากไข้เลือดออกจะต้องหมดไปภายในปี 2573


ไข้เลือดออก คาดเสียชีวิตสูงสุดในรอบ 5 ปี

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศไทย สะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 5 มิ.ย. 67 พบผู้ป่วยจำนวน 30,353 ราย ผู้เสียชีวิต 36 ราย และคาดการณ์ว่าอาจเสียชีวิตมากกว่า 200 รายในปีนี้ ซึ่งเพิ่มสูงสุดในรอบ 5 ปี
สำหรับแนวทางการป้องกัน กรมควบคุมโรคได้กำหนดมาตรการ 4 เน้น 4 เดือน เพื่อป้องกันการระบาดของ"โรคไข้เลือดออกระหว่างเดือน มิ.ย.- ก.ย. 2567" ได้แก่
 1.ด้านการเฝ้าระวังโรคและยุงพาหะ โดยการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายให้มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่า 5
 2.ด้านการตอบโต้และควบคุมยุงพาหะ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควบคุมโรคไข้เลือดออกตามแนวทางมาตรฐาน
 3. ด้านการวินิจฉัยและรักษา ให้สถานบริการในพื้นที่ตรวจผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อไข้เลือดออกทุกรายด้วยชุดตรวจเร็วสำหรับไข้เลือดออก (NS1)
 และ4.ด้านการสื่อสารความเสี่ยง เน้นประชาสัมพันธ์ให้ร้านขายยาและสถานบริการทางการแพทย์งดจ่ายยา NSAID
สิ่งสำคัญที่สุด คือ การร่วมมือกันในทุกภาคส่วน จึงขอเชิญชวนประชาชนให้มีสุขภาพดีไปด้วยกันด้วยการร่วมเป็นฮีโร่ในการป้องกันไข้เลือดออก ช่วยกันบอกต่อแนวทางการป้องกันไข้เลือดออกให้กับคนใกล้ตัว เพื่อเป็นการกระจายความรู้ออกไปเป็นวงกว้าง

“80% โดยเฉพาะผู้ใหญ่ ไม่ได้มาโรงพยาบาลเพราะมีอาการไม่มาก แต่ป่วยเป็นไข้เลือดออก เรียกว่า DF หรือ Dengue fever คือ มีเชื้อไวรัสอยู่ แต่อาการไม่รุนแรง มีไข้ปกติ และไปซื้อยากินเอง  ซึ่งคนไข้ที่รักษาแบบผู้ป่วยนอกนี้ อยู่ที่บ้าน ไม่ได้ทายากันยุง เมื่อยุงมากัดก็นำเชื้อที่มีอยู่ไปแพร่เชื้อต่อคนอื่น เมื่อยุงมากัด”นพ.ธงชัยกล่าว  

อยากรณรงค์ว่า เมื่ออยู่บ้านควรทายากันยุง หรือโลชั่นกันยุง ป้องกันไว้ดีที่สุด เหมือนการใส่หน้ากากอนามัยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่หรือโควิด-19 แต่ทากันยุงก็ป้องกันไข้เลือดออก ลดการแพร่เชื้อ ยอดผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศไทยอาจพุ่งสูงขึ้น อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณของยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก
ไข้เลือดออก อาการระยะไข้ลด อันตราย

ข้อมูลจาก รพ.เวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ระบุว่า ไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี ซึ่งมี 4 สายพันธุ์  การติดเชื้อครั้งแรก ผู้ป่วย80-90%จะไม่แสดงอาการ
ผู้มีอาการจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก และมีผื่นที่ผิวหนังได้ แต่ถ้าติดเชื้อครั้งที่สอง โดยเชื้อที่ต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก อาจเป็นไข้เลือดออกซึ่งมีอาการสำคัญแบ่งออกได้ 3 ระยะ คือ
1. ระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา เด็กบางคนอาจชัก เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มักมีหน้าแดง และอาจมีผื่นหรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา ระยะนี้จะเป็นอยู่ราว 2-7 วัน
2. ระยะช็อค ระยะนี้ไข้จะเริ่มลดลง ผู้ป่วยจะซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้อง โดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะออกน้อย อาจมีเลือดออกง่าย เช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ ในรายที่รุนแรง จะมีความดันโลหิตต่ำ ช็อค และอาจถึงตายได้ ระยะนี้กินเวลา 24-48 ชั่วโมง
3. ระยะพักฟื้น อาการต่างๆจะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกอยากรับประทานอาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น บางรายมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็กๆ ตามลำตัว


วิธีป้องกันไข้เลือดออก

วิธีเบื้องต้นที่จะป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกที่มียุงเป็นพาหะนำโรค
  • ควรสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ทาผลิตภัณฑ์ป้องกันยุง ใช้มุ้งหรือมุ้งลวด
  • จัดสภาพแวดล้อมไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง ปิดภาชนะกักเก็บน้ำให้มิดชิด หรือใช้ตาข่ายไนล่อนหรือผ้าขาวบางปิดปากโอ่งเพื่อป้องกันยุงลงไปวางไข่
  • หมั่นสำรวจลูกน้ำยุงในภาชนะกักเก็บน้ำ เปลี่ยนน้ำในแจกัน ทุก ๆ 7 วัน เพื่อตัดวงจรชีวิตลูกน้ำที่กลายเป็นยุง
  • ใช้วิธีทางกายภาพ เช่น ใช้ไม้ตบยุงไฟฟ้า หลอดไฟดักยุง ขัดล้างไข่ยุงลายที่ติดอยู่กับภาชนะใส่น้ำเพื่อกำจัดไข่ยุงลาย
  • ใช้วิธีทางชีวภาพ โดยการปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร อ่างบัว หรือภาชนะที่ปลูกพืชน้ำ

ภก.วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ในการใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุง ซึ่งมีการขึ้นทะเบียนทั้งในรูปแบบทรายและเม็ด แต่ที่นิยมใช้กัน คือ ทรายกำจัดลูกน้ำยุงหรือทรายทีมีฟอส (Temephos) หากผู้บริโภคต้องการเลือกซื้อเลือกใช้ทรายกำจัดลูกน้ำยุง ให้เลือกที่มีการแสดงเลขทะเบียนวัตถุอันตรายทางสาธารณสุข (วอส.) ในกรอบเครื่องหมาย อย.บนฉลาก

ห้ามใช้กับน้ำที่นำมาดื่มกิน หากสัมผัสโดยตรงกับทรายกำจัดลูกน้ำยุง อาจเกิดการระคายเคืองผิวหนังได้ จึงควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังการใช้
หากพบอาการปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และสงสัยว่าได้รับสารพิษจากทรายกำจัดลูกน้ำยุง ให้รีบพบแพทย์ทันทีและให้นำฉลากไปด้วย ทั้งนี้ หลังจากใช้ทรายกำจัดลูกน้ำยุงไปแล้ว ควรสังเกตว่ายังมีลูกน้ำยุงหรือไม่

หากยังพบอยู่แสดงว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวใช้ไม่ได้ผล ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงในแหล่งน้ำน้อยเกินไปทำให้ความเข้มข้นของสารทีมีฟอสไม่เพียงพอที่จะมีฤทธิ์กำจัดลูกน้ำยุง หรือทรายจำกัดลูกน้ำยุงอาจเสื่อมสภาพหรือใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงนานเกิน 3 เดือน เป็นต้น


วัคซีนไข้เลือดออก 2 ชนิด

ไข้เลือดออก  เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ เดงกี-1, เดงกี-2, เดงกี-3, เดงกี-4 ซึ่งติดต่อโดยยุงลาย ปัจจุบันวัคซีนไข้เลือดออกมี 2 ชนิด คือ 

1.CYD-TDV (Dengvaxia) ชนิดเชื้อเป็นที่ทำให้อ่อนแรง (Live-attenuated)
โครงสร้างของวัคซีน ไวรัสไข้เหลืองเป็นแกน ผสมกับไวรัสเดงกี 1-4
ประสิทธิภาพ ผลการศึกษาที่ 25 เดือนหลังฉีดวัคซีนป้องกันติดเชื้อแบบมีอาการ ร้อยละ 65ป้องกันการนอนโรงพยาบาล ร้อยละ 80ป้องกันติดเชื้อแบบรุนแรง ร้อยละ 93
อายุที่สามารถฉีดได้ 6-45 ปี
จำนวนเข็ม 3 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน
ผู้ที่สามารถฉีดวัคซีนได้ ฉีดได้เฉพาะผู้ที่เคยเป็นไข้เลือดออกแล้ว ผู้ที่ไม่เคยเป็นไข้เลือดออก ควรปรึกษาแพทย์และตรวจเลือดก่อนการฉีด

2. TDV (Qdenga) ชนิดเชื้อเป็นที่ทำให้อ่อนแรง (Live-attenuated)
โครงสร้างของวัคซีน  ไวรัสเดงกี 2 เป็นแกนผสมกับไวรัสเดงกี 1-4 
ประสิทธิภาพ ผลการศึกษาที่ 12 เดือนหลังฉีดป้องกันติดเชื้อแบบมีอาการ ร้อยละ 80ป้องกันการนอนโรงพยาบาล ร้อยละ 90ป้องกันติดเชื้อแบบรุนแรง ร้อยละ 86
อายุที่สามารถฉีดได้ 4-60 ปี
จำนวนเข็ม 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน

ผู้ที่สามารถฉีดวัคซีนได้ ฉีดได้ทั้งผู้ที่เคยและไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดก่อนการฉีดวัคซีน
อ้างอิง : กรมควบคุมโรค ,ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์,รพ.เวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ

 

บทความอื่นๆ

เมื่ออายุมากขึ้นต้องระวังการใช้ยามากขึ้น

PR News

06 มี.ค. 2568

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยปรับตัวอย่างไร

PR News

13 ม.ค. 2568

ยอดผู้ป่วยรอปลูกถ่ายอวัยวะ สูงถึง 7 พันราย 'โรคไต' ครองแชมป์รออวัยวะสูงสุด

PR News

15 ส.ค. 2567

บทความยอดนิยม

1

"ไข้หวัดนก" กรมควบคุมโรคแจ้ง คนมาจากพื้นที่ระบาด หากป่วย รีบไปพบแพทย์

PR News

15 มิ.ย. 2567

2

เช็คด่วน! เงื่อนไข "หวยเกษียณ-สลากเกษียณ" ใบละ 50 บาท ลุ้นรางวัลใหญ่ 1 ล้านบาท!

PR News

06 มิ.ย. 2567

3

บอร์ดสปสช. ไฟเขียวท้องถิ่น จัดรถนำ “ผู้ทุพพลภาพ”ไปรพ. ฟรี

PR News

15 ส.ค. 2567

4

ยอดผู้ป่วยรอปลูกถ่ายอวัยวะ สูงถึง 7 พันราย 'โรคไต' ครองแชมป์รออวัยวะสูงสุด

PR News

15 ส.ค. 2567

5

เปิดเส้นทางรัฐ ไปยังไงต่อ 'เศรษฐา' พ้นนายก อวสานเงินดิจิทัล 10000 บาทหรือไม่

PR News

15 ส.ค. 2567

ข้อแนะนำการอ่านหนังสือสำหรับผู้สูงอายุ
การอ่านหนังสือเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุอย่างมาก ช่วยให้กระตุ้นสมอง เพิ่มความรู้ พัฒนาทักษะการสื่อสาร และผ่อนคลาย ดังนี้

การเลือกประเภทหนังสือ:
  • เลือกหนังสือที่ผู้สูงอายุสนใจ: เลือกหนังสือที่สอดคล้องกับความสนใจและประสบการณ์ของผู้สูงอายุ เช่น นิยาย หนังสือเกี่ยวกับสุขภาพ การท่องเที่ยว ฯลฯ
  • เลือกหนังสือที่เหมาะกับระดับการอ่าน: เลือกหนังสือที่มีตัวอักษรที่ชัดเจน ประโยคสั้นๆ และภาษาที่เข้าใจง่าย
  • เลือกหนังสือที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์: เลือกหนังสือที่มีเนื้อหาที่ช่วยให้ผู้สูงอายุเรียนรู้ พัฒนาทักษะ หรือผ่อนคลาย

การอ่านหนังสือ หรือ บทความมีประโยชน์มากมายต่อคนทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ดังนี้

1. กระตุ้นสมอง: การอ่านช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยให้สมองได้คิดและได้ทำงานตลอดเวลา การอ่านหนังสือสม่ำเสมอจะช่วยชะลอและป้องกันการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้
2. เพิ่มความรู้: การอ่านหนังสือช่วยให้เราได้รับความรู้จากเนื้อหาในหนังสือ แม้ว่าจะยังไม่ได้ใช้ในตอนนี้ แต่ก็ยังคงเป็นประโยชน์ในอนาคต
3. พัฒนาทักษะการสื่อสาร: การอ่านช่วยให้เราได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ และรูปแบบประโยคที่หลากหลาย ทำให้เราสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ฝึกสมาธิ: การอ่านหนังสือช่วยให้เราจดจ่อกับเรื่องราวในหนังสือ ฝึกสมาธิและความตั้งใจ
5. ผ่อนคลาย: การอ่านหนังสือช่วยให้เราผ่อนคลาย ลดความเครียด และรู้สึกสงบ
6. เพิ่มความรู้รอบตัว: การอ่านหนังสือช่วยให้เรารู้เรื่องราวต่างๆ ทั่วไป สามารถพูดคุยกับผู้อื่นได้อย่างมั่นใจ
7. พัฒนาการคิดวิเคราะห์: การอ่านหนังสือช่วยให้เราฝึกคิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากเรื่องราวในหนังสือ และนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตจริง
8. ฝึกจินตนาการ: การอ่านหนังสือช่วยให้เราฝึกจินตนาการ คิดภาพตามเรื่องราวในหนังสือ
9. ความบันเทิง: การอ่านหนังสือช่วยให้เราเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย และสนุกกับการอ่าน
10. พัฒนาการอ่าน: การอ่านหนังสือช่วยให้ทักษะการอ่านของเราดีขึ้น เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

การอ่านหนังสือเป็นกิจกรรมที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุทุกคน เพียงเลือกหนังสือที่เหมาะกับความสนใจและระดับการอ่าน ก็สามารถได้รับประโยชน์จากการอ่านอย่างเต็มที่

Popular Tags

blog/view.html บางขุนเทียน ห้วยขวาง ภาษีเจริญ พญาไท ธนบุรี บางกอกใหญ่ บางพลัด บางกอกน้อย คลองสาน

แนะนำ

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ใกล้ฉัน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ กรุงเทพ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ นนทบุรี
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ปทุมธานี ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ สมุทรปราการ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ นครปฐม
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ สมุทรสาคร ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ภูเก็ต ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เชียงใหม่
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ โคราช ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ขอนแก่น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เชียงราย
“วัคซีนไข้เลือดออก” 2 ชนิด คนเคย-ไม่เคยป่วย ฉีดต่างกัน

Copyright © ผู้สูงอายุ คนแก่ คนสูงอายุ คนชรา ผู้ป่วยติดเตียง

  • เกี่ยวกับเรา
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นโยบายคุกกี้
  • ร้องเรียนเนื้อหาไม่เหมาะสม

แนะนำแจ้งเตือน แจ้งปัญหาการใช้งาน

ร่วมงานกับเรา

Messenger Line โทรศัพท์ 081-901-4440